การต่อแบบขนาน (Parallel Circuit) และการต่อแบบผสม (Compound Circuit)


การต่อแบบขนาน (Parallel Circuit)

      การต่อแบบขนาน เป็นวิธีที่นิยมนำมาใช้ต่อไฟฟ้าทั่วไป ใช้แสงสว่าง ใช้ความร้อน พัดลม  วิทยุ โทรทัศน์ เป็นต้น
เป็นวงจรที่มีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านปลายทาง หรือตั้งแต่สองทางขึ้นไปจนครบวงจร การต่อคือ เราต่อสายเมนใหญ่เข้า
่มาในบ้าน (2 สาย) แล้วจึงต่อจากสายเมนมาใช้เป็นคู่ ๆ ถ้าจะดูให้ดีจะเห็นว่าสายคู่ที่ต่อมาใช้นั้นจะต่อมาจากสายเมน
ใหญ่เหมือนกัน เราจึงเรียกการต่อแบบนี้ว่า " การต่อแบบขนาน "

                           

       จากรูป จะเห็นว่ากระแสไฟฟ้าไหลออกจากแหล่งกำเนิดไฟฟ้า หรือแบตเตอรี่ ไปตามสายไฟตามลูกศร ผ่านตัวต้าน
ทาน 4 ตัว (โหลดหรืออุปกรณ์ไฟฟ้า) ซึ่งต่อแบบขนานไว้ แต่ละตัวเป็นคนละวงจรกัน สามารถที่จะแยกการทำงานได้
อย่างอิสระ หรือใช้สวิทช์เป็นตัวควบคุมร่วมกันหรือแยกกันแต่ละวงจรได้ เพราะแต่ละวงจรจะใช้แรงดันไฟฟ้าเท่า ๆ กัน นิยมใช้ต่อไฟฟ้าตามบ้านและโรงงานอุตสาหกรรม

       ดังนั้นพอจะสรุปเป็นกฏได้ว่า
       1. แรงดันไฟฟ้าตกคร่อมที่มาจากวงจรย่อยเท่ากับแรงดันไฟฟ้าของแหล่งจ่าย นั่นเอง เพราะว่าความต้านทานแต่ละ
          ตัวต่างก็ขนานกับแหล่งกำเนิด
       2.กระแสไฟฟ้ารวมในวงจรขนานเท่ากับกระแสไฟฟ้าย่อยทั้งหมดรวมกันกล่าวคือ กระแสไหลเข้า = กระแสไหลออก
          ( It = I1+I2+I3+I4 )
       3.ความต้านทานรวมของวงจรขนานจะมีค่าน้อยกว่า หรือเท่ากับตัวต้านทานที่มีค่าน้อยที่สุดในวงจร



       การต่อแบบผสม (Compound Circuit)

       การต่อแบบผสม คือ การต่อวงจรทั้งแบบอนุกรมและแบบขนานเข้าไปในวงจรเดียว การต่อแบบนี้ โดยทั่วไปไม่นิยม
ใช้กัน เพราะเกิดความยุ่งยาก จะใช้กันแต่ในทางด้านอิเล็กทรอนิกส์เป็นส่วนใหญ่ เช่น ตัวต้านทานตัวหนึ่ง ต่ออนุกรมกับ
ตัวต้านทานอีกตัวหนึ่ง แล้วนำตัวต้านทานทั้งสองไปต่อขนานกับตัวต้านทานอีกชุดหนึ่ง ดังในรูป 

                            

       จะสังเกตุเห็นได้ว่าลักษณะการต่อวงจรแบบผสมนี้เป็นการนำเอาวงจรอนุกรมกับขนานมารวมกัน และสามารถประ
ยุกต์เป็นรูปแบบอื่น ๆ ได้ ขึ้นอยู่กับการนำไปใช้งานให้เหมาะสม เพราะการต่อแบบผสมนี้ไม่มีกฏเกณฑ์ตายตัว เป็นการต่อ
เพื่อนำค่าที่ได้ไปใช้กับงานอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ในวงจรอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น